พัฒนาพลังงานไทย PDF Print E-mail
Written by owen   
Friday, 03 October 2008 11:19


พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย
ผลิตรถยนต์ทั่วโลกหันมาพัฒนา
เครื่องยนต์บนเชื้อเพลิงใหม่ๆ

กดเล่นวีดีโอ

ชมวีดีโอ 

รู้หรือไม่?

พลังงานโลกจะมีใช้ได้อีก

Ø     น้ำมันปิโตรเลียม 40 ปี

Ø      แก๊สธรรมชาติ 64 ปี

Ø      ถ่านหิน และลิกไนต์ 251 ปี

Ø      ธาตุยูเรเนียม 82 ปี

ประเทศไทย มีเชื้อเพลิง

Ø     ประเภทแก๊สธรรมชาติใช้อีก 25-30 ปี

Ø      ถ่านหินใช้อีก 60 – 100 ปี

 

ประเทศ ไทยใช้พลังงานโดยพึ่งพาการนำเข้าเสียเป็นส่วนมาก หลักๆ แล้วเราใช้แหล่งพลังงานจากซากฟอสซิล น้ำมันไปกับยานพาหนะ ก๊าชธรรมชาติสำหรับการหุงต้มและผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพิจารณาแล้วแหล่งพลังงานมีอยู่อย่างจำกัด และรอวันหมด แต่การใช้ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

หลาย ประเทศตะหนักถึงวิกฤติดังกล่าวนี้ พยายามใช้มาตรการแก้ไข/ป้องกันหลายทาง แม้แต่ประเทศที่เป็นผู้ค้าน้ำมันเอง อย่างดูไบ ก็มองเห็นทรัพยากรอันมีค่าของตนจะมีวันหมดสิ้นเข้าสักวันหนึ่ง ปัจจุบันนี้ประเทศดูไบ ใช้การท่องเที่ยวเป็นแผนหลักในการพัฒนาประเทศ สถานที่และแหล่งท่องเที่ยวถูกเนรมิตขึ้น ด้วยเงินลงทุนมหาศาล ราวกับว่ามันไม่น่าจะสร้างได้สำเร็จ

 

ผู้ ผลิตรถยนต์ทั่วโลกหันมาพัฒนาเครื่องยนต์บนเชื้อเพลิงใหม่ๆ ปัจจุบันบางเมืองในเยอรมันมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนขับเคลื่อนใช้งานแล้ว พร้อมตั้งสถานีบริการก๊าซไฮโดรเจน ตามจุดต่างๆในเมือง

 

เมื่อเดือนที่ผ่านมานี้เอง เพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนาม เพิ่งเซ็นสัญญาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทีเดียว 2 โรง เพื่อรองรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรมที่สูงใกล้เคียงกับจีน ในขณะที่เราเพิ่งจัดตั้งคณะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์

 

ลองมองใกล้ๆตัวเราบ้าง ลองเงยหน้ามองบนหัวเราสิครับ เจอแสงสว่างจากหลอดไฟบ้างไหม หลอดไฟ 1 หลอดใช้พลังานไฟฟ้าอันประกอบด้วย บัลลาส 35 วัตต์+หลอดไฟ 60 วัตต์ รวมใช้พลังงานไฟฟ้า 95 วัตต์ ลองนึกดูสิครับ ที่บ้านใครมีหลอดไฟเปิดทิ้งไว้ทั้งคืนบ้าง เช่นไฟบริเวณรั้วหน้าบ้านหรือรอบอาคาร คืนหนึ่งๆเราเปิดประมาณ 12 ชั่วโมงได้ สงสัยไหมครับเฉพาะส่วนนี้ค่าไฟเท่าไหร่

 

การไฟฟ้าคิดค่าไฟเรา ตามหน่วยการใช้พลังงาน “กิโลวัตต์ชั่วโมง” โดยเฉลี่ย หน่วยละ 2.75 บาท ดังนั้นจากตัวอย่างข้างต้น

 

ใน 1 คืน เราจะเสียค่าไฟ = [(95/1000) x 12 x 2.75]             = 3.135 บาท

ใน 1 เดือน เราจะเสียค่าไฟ = 3.135 x 30                               = 94.05 บาท

ใน 1 ปี เราจะเสียค่าไฟ = 94.05 x 12                                    = 1,128.6 บาท

 

จากข้อมูลปัจจุบัน อ้างอิง วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนครัวเรือนในประเทศไทยปัจจุบันมี 17.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งถ้าพร้อมใจกันปิดคืนละ 1 ดวงกันทุกๆ ครัวเรือนละครับ

 

ใน 1 ปี เราจะประหยัดค่าไฟ = 1,128.6 x 17.9                      = 20,202 ล้านบาท

 

ดูเยอะใช่ไหมครับ นี่แค่ปิดไฟดวงเดียว ทุกคืน เป็นระยะเวลา 1 ปี เราจะประหยัดเงินชาติไปได้มากขนาดไหน แต่นี่เป็นเพียงตัวเลขประมาณการเท่านั้น เพราะความเป็นจริง คงมีครัวเรือนที่พร้อมจะปิดได้จริง ไม่ครบทั้ง 17.9 ล้าน ครัวเรือน เช่น ต่างจังหวัดบางที่ ทั้งบ้านมีไฟเพียงไม่กี่ดวง คงหาสักดวงที่จะปิดลำบากหน่อย แต่จากตัวอย่างนี้คงเห็นแล้วนะครับ ว่ามันเห็นผลจริงๆ ไม่แปลกนะครับที่เขารณรงค์ออกทีวีให้ลองปิดกันดู แล้วเอากราฟการใช้ไฟฟ้าแสดงผ่านทีวีกันเลย (ในสมัยคุณทักษิณ + คุณอภิรักษ์ ก็ทำ)

 

ในหลวง ท่านทรงมองการไกลเรื่องวิกฤติพลังงานมานานมากแล้ว แน่นอนละครับ พลังงานเป็นเรื่องจำเป็น แต่เราต้องพึ่งพาต่างชาติตลอด เป็นเมืองขึ้นเขาทางอ้อม ราคาก็กำหนดเองไม่ได้เหมือนสินค้าตัวอื่นๆ แต่ถ้าพิจารณาให้ดี เราเองก็คือผู้กำหนดราคาพลังงานนะครับ ใช้มาก มันก็แพงมาก ก็อย่างที่ผมบอก ของมันมีจำกัด อะไรที่มัน Supply ได้จำกัด แต่ Demand ไม่จำกัดนี่ก็เข้าตามตำราครับ

 

อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารสหรัฐฯ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้มายาวนานกว่า 20 ปี ผู้ผ่านนโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีหลายท่าน เป็นผู้ที่มองการเมือง การเงิน และเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ถึงเนื้อแท้คนหนึ่ง อลัน กรีนสแปน ในวัยเกษียณ (82 แล้วนะ) หลังพ้นจากตำแหน่งฯ ไปไม่นาน ได้ออกมาเขียนหนังสือ อัตชีวประวัติเกี่ยวกับการทำงานของเขาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งในหนังสือ โจมตี และกล่าวหา ”บุช” ว่าทำสงครามกับอิรักเพียงเพื่อต้องการน้ำมันเท่านั้น (จะว่าไปธุรกิจของครอบครัวบุช ก็คือน้ำมัน ที่เท็กซัส) ถ้าคำกล่าวอ้างนี้เป็นจริง มันก็ตลกร้ายที่คล้ายคลึงกับเพื่อน “บุช” หรือ คุณทักษิณ ที่มีคำกล่าวอ้างว่า เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. และเป็นผู้มีบทบาทในการผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น โดยการปรับราคาให้สอดคล้องกับหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติพลังงานไทย

 

อ่าน มาถึงตอนนี้ ถ้าปัจจุบันจะลดเงินชดเชยกองทุนน้ำมันลง เพื่อช่วยไม่ให้ราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้น ดูท่าจะไม่มีผลอะไร เพราะคงจะชะลอ ไปได้สักระยะ หรือไม่กี่วัน แต่สิ่งที่ควรทำคือ การสะท้อนราคาที่เป็นจริง เหมาะสม และกระตุ้นให้คนไทยรู้รักษ์พลังงาน และหาวิธีทางไม่เป็นเมืองขึ้นเขา อย่างในหลวงท่านทรงนำเราเดินมาตลอด

ที่มา oakeybear.multiply.com/ journal/item/22

Last Updated ( Thursday, 06 November 2008 11:14 )