ร่มคืออะไร PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Thursday, 05 June 2008 09:05

เรื่องราวเกี่ยวกับร่มที่คุณอาจไม่รู้ ...

 ร่ม

ร่ม เป็นเครื่องใช้สำหรับกันแดดกันฝน มีด้ามยาวสำหรับถือ และส่วนบนเป็นแผ่นโค้ง ขอบกลมเหมือนดอกเห็ด ทำจากกระดาษหรือผ้า ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของร่มคือ สามารถหุบเก็บได้ จึงพกพาได้สะดวก ลักษณนามของร่ม คือ คัน

ลักษณะของร่ม

ร่มประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คึอ ส่วนด้าม ส่วนตัวร่ม และส่วนซี่ร่ม

ด้ามร่ม ทำจากวัสดุยาว สำหรับยึดตัวร่ม และเป็นด้ามจับ ส่วนปลายจึงมักทำให้มีขนาดใหญ่ หรืองอโค้ง เพื่อจับได้สะดวก มีทั้งที่ทำจากโลหะ และไม้

ตัวร่ม ทำจากกระดาษอาบน้ำยากันฝน และผ้าชนิดที่กันฝนได้ (เรียกทั่วไปว่า ผ้าร่ม) แผ่เป็นวงกลม ยึดวางอยู่บนซี่ร่ม หรือโครงร่ม

ซี่ร่ม ซี่ร่มเป็นส่วนสำคัญของร่ม ที่ทำให้ร่มพับเก็บได้ มีขนาดเล็กยึดต่อกันเป็นท่อนๆ พับเข้าออกได้ บ้างก็ เป็นแบบท่อนเดียว หุบร่มได้อย่างเดียว บ้างก็เป็นแบบสองท่อน หุบร่มแล้ว ยังพับซ้อนลงไปได้อีก ทำให้เมื่อพับแล้วมีขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก

ร่มชนิดต่าง ๆ

ร่มที่ใช้กันโดยทั่วไป เป็นร่มกันแดดกันฝน สำหรับใช้คนเดียว สามารถกันแดด และกันฝนได้ แต่นอกจากนี้ ยังมีร่มสำหรับใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น

ร่มชายหาด : เป็นร่มขนาดใหญ่ มีด้ามยาวและใหญ่ ปักไว้ตามชายหาด สำหรับกันแดดให้นักท่องเที่ยวขณะนอนบนชายหาด

ร่มแม่ค้า : เป็นร่มขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับร่มชายหาด มักใช้กันแดดกันฝนตามแผงขายของในตลาดนัด ริมทางเท้า หรือในที่ต่างๆ ใช้ปักในแท่นที่หนัก เพื่อกันล้ม

ร่มกอล์ฟ: เป็นร่มสำหรับใช้ถือ มีขนาดใหญ่กว่าร่มปกติที่ใช้ธรรมดาประมาณ 1.25 - 1.5 เท่า คือสามารถใช้ได้ 2 คนเป็นอย่างมาก ด้ามที่ใช้จะถูกออกแบบมาให้สามารถจับได้ถนัดมือกว่าร่มที่ใช้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างพิเศษที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อกันก้านร่มหัก เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางลมที่พัดแรงในทีโล่งแจ้งอย่างสนามกอล์ฟอีกด้วย

ประวัติ

ร่ม เกิดขึ้น เมื่อราว 3,400 ปีก่อน ในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นดินแดนที่ร้อนระอุตลอดทั้งปี จึงมีการใช้ร่มบังแดด และใช้ในเฉพาะผู้ที่มีอำนาจเท่านั้น

การใช้งานอื่น ๆ

ปัจจุบัน มีการใช้ร่มเพื่อประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากการใช้กันแดดกันฝน เช่น ใช้ประดับในสวน ตกแต่งบ้าน ร่มขนาดเล็กสำหรับแปรอักษร ร่มติดข้อความโฆษณาสินค้า ร่มไม้เท้า ซึ่งสามารถเป็นรถและเป็นไม้เท้าสำหรับผู้สูงอายุได้

 

Last Updated ( Monday, 28 July 2008 16:58 )