ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวน |
![]() |
Written by owen | |
Thursday, 03 July 2008 09:20 | |
โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
การทําให้เสียหายทําลายแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหายทําลายแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ความผิดตามมาตรานี้หมายถึงการกระทําอันเป็นการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีองค์ประกอบความผิด คือ (๑) กระทําการอันเป็นการทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมโดยมิชอบ องค์ประกอบข้อนี้ใช้ถ้อยคําซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ คือคําว่า “ทําให้เสียหาย” และ “ทําลาย” แต่ในสวนที่เกี่ยวกับการปลอมนั้น มาตรานี้ไม่ได้ยกองค์ประกอบของความผิดฐานปลอมเอกสารมา แต่เขียนองค์ประกอบให้ชัดเจนว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ซึ่งเป็นคําสามัญที่เข้าใจได้และแน่นอนว่าต้องคงองค์ประกอบความผิดในเรื่อง “โดยมิชอบ” ไว้เสมอ เพราะมีกรณีจํานวนมากที่ผู้กระทํามีอํานาจและสิทธิที่จะเข้าไปแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้ (๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ความหมายของ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” อยู่ในนิยามศัพท์ และจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น (๓) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ ความผิดตามมาตรา ๙ มุ่งจะคุ้มครองความถูกต้องของข้อมูล (integrity) ความถูกต้องแท้จริง (authentication) และเสถียรภาพหรือความพร้อมในการใช้งานหรือการใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกเก็บไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
๑๔
เป็นปกติจึงเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับสิ่งของที่สามารถจับต้องได้ (corporeal object) ตัวอย่างของการกระทําความผิดตามมาตรานี้ ได้แก่ การป้อนโปรแกรมที่มีไวรัสทําลายข้อมูล หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการป้อน Trojan Horse เข้าไปในระบบ เพื่อขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้คอมพิวเตอร์สําหรับเพื่อเขาไปลบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขขอมูล หรือกระทําการใดๆ อันเป็นการรบกวนข้อมูล เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการกระทําความผิดตามมาตรานี้มีองค์ประกอบความผิดที่สําคัญคือ “โดยมิชอบ” ดังนั้นหากเป็นการกระทําของบุคคลผู้มีสิทธิโดยชอบ ก็จะไม่เป็นความผิด เช่นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (traffic data) เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารแบบไม่ระบุชื่อ ตัวอย่างเช่น การสื่อสารผ่านระบบ anonymous remailer system หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อการรักษาความลับและความปลอดภัยของการสื่อสาร อาทิ การเข้ารหัสขอมูล (encryption) เป็นต้น
ข้อสังเกตสําหรับความผิดตามมาตรานี้ ก็คือเป็นบทบัญญัติที่มีโทษปรับสถาน เดียวและไม่มีโทษจําคุก จึงถือว่าเป็นโทษที่ค่อนข้างเบา ในประเด็นที่เทียบเคียงกับ ความผิดฐานบุกรุกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คณะกรรมาธิการเห็นว่าความผิด ตามมาตรา ๑๒ เรื่อง Spamming นี้มักจะไม่ทํากับผู้เสียหายคนเดียว แต่มักจะทําในวงกว้าง หากกําหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ จะมีปัญหาเกี่ยวกับการร้องทุกข์เพื่อดําเนินคดีซึ่งมีผู้เสียหายจํานวนมาก จึงไม่ได้กําหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้
|
|
Last Updated ( Wednesday, 23 July 2008 09:20 ) |