บทลงโทษที่หนักขึ้น |
![]() |
Written by owen | |
Thursday, 26 June 2008 09:59 | |
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ บทลงโทษที่หนักขึ้นสําหรับการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ ฯลฯ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี มาตรา ๑๒ เป็นบทลงโทษที่หนักขึ้นสําหรับการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ (ไม่รวมความผิดฐาน Spamming ตามมาตรา ๑๑) ซึ่งเป็นการกระทํา โดยมิชอบกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ดังนั้นจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้จะต้องเป็นความผิดใน ๒ มาตราดังกล่าวก่อน ๑๘ ตามมาตรา ๑๒(๑) พิจารณาผลจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ คําว่า “แก่ประชาชน” ควรพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนในวงกว้าง (public) แบบเดียวกับถ้อยคํา “ประชาชน” ในเรื่องฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๓ องค์ประกอบที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ “ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที่หรือภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่” ซึ่งดูเสมือนว่าจะไม่คํานึงถึงผล แต่จริงๆ แล้วต้องพิจารณาว่าผลคือความเสียหายนั้นต้องเกิดขึ้นแน่ เพียงแต่ว่าถึงแม้จะยังไม่เกิด แต่แน่นอนว่าหากจะเกิดขึ้นในภายหลังก็ถือว่าเข้าองค์ประกอบความผิดนี้แล้ว ถ้อยคํานี้ จึงน่าจะแตกต่างจาก “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย” ตามมาตรา ๑๒(๒) ซึ่งจะได้อธิบายในลําดับถัดไป การกระทําความผิดที่เข้ามาตรา ๑๒(๑) กฎหมายให้ระวางโทษหนักขึ้น เป็นจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ส่วนบทลงโทษที่หนักขึ้นตามมาตรา ๑๒(๒) ไม่ได้พิจารณาจากผลของการกระทํา ดังที่เขียนไว้ในมาตรา ๑๒(๑) แต่มาตรา ๑๒(๒) พิจารณาจากลักษณะของการกระทําที่จะก่อให้เกิดผล โดยใชคําว่า “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อ...” ซึ่งถ้อยคํานี้มีใช้อยูในความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา ๒๖๙/๕ และมาตรา ๒๖๙/๖ ของประมวลกฎหมายอาญา และอีกหลายบทมาตราที่ใช้ถ้อยคําในลักษณะทํานองเดียวกัน ในขณะที่มาตรา ๑๒(๑) พิจารณาจากผลที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๑๒(๒) พิจารณาจากลักษณะของการกระทําที่ไปกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่กฎหมายมุ่งใหความคุ้มครองเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้
(๑) ระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอรที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หมายเหตุ ตัวบทใช้คําว่า “หรือ” จึงหมายความว่าเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็เข้าองค์ประกอบแล้ว และเป็นถ้อยคําสามัญที่ตีความตามหลักภาษาไทย (๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ถ้อยคํานี้ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ในความเห็นของผู้เขียน การพิสูจน์ความผิดตามองค์ประกอบข้อนี้ โจทก์จะต้องพิสูจน์โดยปราศจากความสงสัยตามสมควรว่า ผู้กระทําความผิดรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด คือต้องรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีไว้เพื่อใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่นอาจต้องมีประกาศแจ้งเตือนก่อน
๑๙
การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๒(๒) ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นถึงสามแสนบาท
ส่วนความในวรรคท้ายของมาตรา ๑๒ เป็นบทฉกรรจ์สําหรับการลงโทษที่หนักขึ้นของผู้กระทําผิดตามมาตรา ๑๒(๒) ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี มีข้อสังเกตว่า เหตุฉกรรจ์ ตามมาตรา ๑๒ วรรคท้ายที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น หากเป็นกรณีที่ผู้กระทํามีเจตนาฆ่า ผู้กระทําต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ หรือ มาตรา ๒๘๙ แล้วแต่กรณี ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกสูงสุด คือประหารชีวิต หากเป็นกรณีที่ผู้กระทําไดกระทําไปโดยประมาทก็ต้องถือว่าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๑ ด้วย แต่เนื่องจากโทษตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้หนักกว่า โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ ที่กําหนดไว้จําคุกไม่เกินสิบป จึงต้องใช้บทลงโทษตามมาตรา ๑๒ วรรคท้ายซึ่งหนักกว่า ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ หรือแม่แต่การกระทําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ ก็มีอัตราโทษ คือจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าป ซึ่งเป็นอัตราโทษที่เบากว่ามาตรา ๑๒ วรรคท้าย
|
|
Last Updated ( Wednesday, 23 July 2008 09:33 ) |