ฐานความผิด Print
Written by owen   
Thursday, 26 June 2008 09:42

ฐานความผิด องค์ประกอบ

ความผิดและบทกําหนดโทษ

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

บัญญัติให้การกระทําที่เป็นความผิดและกําหนดบทลงโทษไว้ในหมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ตั้งแต่มาตรา ๕ ถึงมาตรา ๑๖ โดยกําหนดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษไว้  ดังนี้

การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ

         มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน

         ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

องค์ประกอบความผิดประการแรก คือ “การเข้าถึง”

         ตามเอกสารชี้แจงของสํานักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้อธิบายประกอบเสนอร่างกฎหมายต่อ

         คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ความหมายว่า “การเข้าถึง” ตรงกับคําภาษาอังกฤษว่า “access”   

         หมายถึง การเข้าถึงทั้งในระดับกายภาพ

         เช่นกรณีที่มีการกําหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

         และผู้กระทําผิดดําเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ได้รหัสผ่านนั้นมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้โดย

         นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และ หมายความรวมถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์

         แม้ตัวบุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์

         หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ตนต้องการได้  นอกจากนั้นยังหมายถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

         หรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้นจึงอาจหมายถึงการเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ

         ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์  ข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส้งหรือโอนถึงอีกบุคคลหนึ่ง

         เช่นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นต้น 

         ส่วนวิธีการเข้าถึงนั้นรวมทุกวิธีการไม่ว่าจะเข้าถึงโดยผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ

         เช่นอินเทอร์เน็ตอันเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน

         และยังหมายถึงการเข้าถึงโดยผ่านระบบเครือข่ายเดียวกันด้วยก็ได้

         เช่น ระบบ LAN (Local Area Network)

         อันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ เข้าด้วยกัน

         นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงการเข้าถึงโดยการติดต้อสื่อสารแบบไร้สาย (wireless communication) อีกด้วย

 

         องค์ประกอบความผิดประการต่อไป คือ “โดยมิชอบ” ซึ่งองค์ประกอบความผิด นี้มีใช้อยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา  ๒๖๙/๕

         และมาตรา ๒๖๙/๖  ในเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์  ความหมายที่เข้าใจกันคือ “การเข้าถึง” 

         ซึ่งถือว่าเป็นความผิดฐานนี้จะต้องเป็นการเข้าถึงโดยปราศจากสิทธิโดยชอบธรรม (without right) ด้วย

         ซึ่งหมายความว่าหากผู้ทําการเข้าถึงนั้นเป็นบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงไม่ว่าด้วยถือสิทธิตามกฎหมายหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของระบบ

         ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงเพื่อดูแลระบบของผู้ดูแลเว็บ (webmaster) อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับอนุญาตให้ทําการเข้าถึงนั้น 

         ได้เข้าถึงระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์เกินกว่าที่ตนได้รับอนุญาต

         ในกรณีนี้บุคคลดังกล่าวก็ย่อมต้องรับผิดเช่นเดียวกัน

 

         องค์ประกอบความผิดประการต่อไปคือ “ระบบคอมพิวเตอร์”  ซึ่งได้ให้คํานิยาม ศัพท์ไว้ในมาตรา ๓

         และได้อธิบายไว้ในบทที่ ๑ แล้ว

         องค์ประกอบความผิดประการสุดท้ายคือ จะต้อง “เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีวิธีการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ”

         ระบบคอมพิวเตอร์ใดเป็นระบบที่มีวิธีการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนําสืบเป็นเรื่องๆ ไป

 

         ส่วนเหตุผลที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดนี้ก็เพราะมีระบบคอมพิวเตอร์จํานวนมากที่เจ้าของไม่ได้หวงแหนการที่บุคคลใดจะเข้าถึง

         ถึงแม้การกระทําของผู้กระทําจะครบองค์ประกอบความผิดในส่วนที่เป็นการกระทําแล้วก็ยังต้องการองค์ประกอบในภาคจิตใจคือ

         ผู้กระทําต้องมีเจตนาตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ ด้วย

 

         การกระทําความผิดโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรานี้อาจเกิดขึ้นหลายวิธีเช่น การเจาะระบบ (hacking or cracking)

         หรือการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ (computer trespass)  ซึ่งการกระทําเช่นว่านี้เป็นการขัดขวางการใช้ระบบคอมพิวเตอร์โดยชอบ 

๑๐

         ของบุคคลอื่นอันอาจทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทํางานระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยปกติ

         ความผิดฐานนี้จะเป็นที่มาของการกระทําความผิดฐานต่อไป

         เช่นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบอาชญากรรมอื่นๆ

         หรือเพื่อกระทําความผิดฐานอื่นตาม บทบัญญัติมาตราต่อๆ ไปในพระราชบัญญัตินี้

Last Updated ( Wednesday, 23 July 2008 10:52 )