การเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ PDF Print E-mail
Written by owen   
Thursday, 26 June 2008 09:52

การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์

ของผู้อื่นโดยมิชอบ 

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ  ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น

ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิดของมาตรา ๘ คือ

(๑) กระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อดักรับไว้

      ตามคําอธิบายของเนคเทคประกอบการเสนอร่างกฎหมายมีดังนี้

      การดักรับข้อมูลในมาตรานี้หมายถึง การดักรับโดยวิธีการทางเทคนิค (technical means)  เพื่อลักลอบดักฟัง (listen) 

      ตรวจสอบ (monitoring)  หรือติดตาม เนื้อหาสาระของข่าวสาร (surveillance)  ที่สื่อสารถึงกันระหว่างบุคคล หรือเป็นการ

๑๒

      กระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อหาของข้อมูลโดยตรงหรือโดยการเข้าถึงและใช้ระบบคอมพิวเตอร์

      หรือการทําให้ได้มาซึ่งเนื้อหาของข้อมูลโดยทางอ้อมด้วยการแอบบันทึกข้อมูลสื่อสารถึงกันด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

      โดยไม่คํานึงว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสําหรับส่งผ่านข้อมูลหรือไม่

      เพราะบางกรณีอาจใช้อุปกรณ์  เช่นว่านั้นเพื่อบันทึกการสื่อสารข้อมูลที่ได้ส่งผ่านด้วยวิธีการแบบไร้สายก็ได้

      เช่นการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่การติดต่อโดยใช้เทคโนโลยีไร้สายประเภท  wireless  LAN  เป็นต้น

      ซึ่งนอกจาการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบันทึกข้อมูลที่มีการส่งผ่านกันแล้ว

      ยังรวมถึงกรณีการใช้ซอฟต์แวร์ หรือรหัสผ่านต่างๆ  เพื่อทําการแอบบันทึกข้อมูลที่ส่งผ่านถึงกันด้วย

      ต้องอย่าลืมว่าการกระทําความผิดตามมาตรานี้  ผู้กระทําได้กระทําไป  “โดยมิชอบ” ด้วย

      ซึ่งหมายถึงการไม่มีอํานาจกระทํา    ดังนั้น ถ้าผู้กระทํามีอํานาจที่จะกระทําได้  ไม่ว่าโดยกฎหมายหรือโดยการอนุญาตของเจ้าของสิทธิ

      ผู้กระทําย่อมไม่มีความผิด

 

(๒)  ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์

      การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์

      ดังนั้นจึงไม่หมายความรวมถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บในรูปแบบซีดี หรือดิสเกตต์

 

(๓) ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้

      การพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่

      ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าลักษณะการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนั้น

      ผู้ส่งต้องการให้เป็นเรื่องเฉพาะตน  ไม่ได้ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่ผู้ใดหรือไม่

      การพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงต้อง

      พิจารณาจากการมีการเข้ารหัสการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเพียงใด

      ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะพิจารณาจากเนื้อหาของข้อมูลว่าเป็นความลับหรือไม่

      เช่น เนื้อหาของข้อมูลอาจเป็นเรื่องความลับทางการค้า แต่หากผู้ส่งใช้วิธีการส่งที่ไม่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลนั้น

      ผู้ที่ดักรับย่อมไม่มีความผิด

 

(๔) โดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙  หมายถึงเจตนาในการกระทําความผิด

๑๓

      วัตถุประสงค์ของมาตรา ๘ คือ เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร (the right of privacy of data communication)

      ทํานองเดียวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสารรูปแบบที่ห้ามดักฟังหรือแอบบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์

 

Last Updated ( Wednesday, 23 July 2008 10:32 )