บททั่วไปและนิยามศัพท์ PDF Print E-mail
Written by owen   
Wednesday, 25 June 2008 14:51

บททั่วไปและนิยามศัพท์

 

ความเป็นมา

หลักการและเหตุผล

คณะรัฐมนตรีไดเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ... .

ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๙ เมื่อวันพุธ ที่๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

โดยมีหลักการคือ “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

และเหตุผลคือ “เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสําคัญของการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย์  หากมีผู้กระทําด้วยประการใดๆ

ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไว้หรือทําให้การทํางานผิดพลาดไปจากคําสั่งที่กําหนดไว้

หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทําลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์  โดยมิชอบ 

หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร 

ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ  

รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกําหนดมาตรการเพื่อป้องกันและ ปราบปรามการกระทําดังกล่าว

จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้พิจารณา

และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับวิชาการคอมพิวเตอร์

และกฎหมายเพื่อพิจารณา     คณะกรรมาธิการได้ประชุมพิจารณารวมทั้งสิ้น ๒๗ ครั้ง

และได้เสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาในวาระ ๒ และวาระ ๓ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐

และได้มีมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอน ๒๗ก.  ลงวันที่ ๑๘  มิถุนายน ๒๕๕๐

 

 

วันใช้บังคับ

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เหตุผล เนื่องจากพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีบทบัญญัติที่กําหนดโทษความผิดทางอาญา

ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติแล้ว ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการ สืบสวนสอบสวนคดีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่

ซึ่งต้องมีการเตรียมการและการวางระเบียบใน เรื่องของการแต่งตั้ง (มาตรา ๒๗)

และในเรื่องที่จะต้องกําหนดระเบียบและวางแนวทางวิธีปฏิบัติในการดําเนินการสืบสวนสอบสวน

ซึ่งจะต้องมีการประสานงานระหว่างพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมาย

วิธีพิจารณาความอาญากับพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๘) นอกจากนั้น ยังมีบทบัญญัติที่ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา ๒๕)

จึงจําเป็นต้องให้ระยะเวลาเตรียมการในเรื่องเหล่านี้

พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐

ดังนั้นจึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

 

บทนิยามศัพท

“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทํางานเข้าด้วยกัน

โดยได้มีการกําหนดคําสั่ง   ชุดคําสั่ง  หรือสิ่งอื่นใด   และแนวทางปฏิบัติงาน

ให้อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

คําว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” มีใช้อยู่ในมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔(๑)(๒)(๓)

และ (๔) มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ (๒) (๔) (๖) และ(๘) มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๘

ความหมาย “ระบบคอมพิวเตอร์”  หมายถึงอุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์

ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ได้แก ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น  เพื่อประมวลผลข้อมูลดิจิตัล

 

(digital  data)  อันประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ต่างๆ ในการรับเข้าหรือป้อนข้อมูล (input) 

นําเข้าหรือแสดงผลข้อมูล (output) และบันทึกหรือเก็บข้อมูล (store and record) ระบบคอมพิวเตอร์  จึงอาจเป็นอุปกรณ์เพียงเครื่องเดียว

หรือหลายเครื่องอันมีลักษณะเป็นชุดเชื่อมต่อกัน โดยอาจเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายก็ได้

และมีลักษณะการทํางานโดยอัตโนมัติตามโปรแกรมหรือ ซอฟต์แวร์ที่กําหนดไว้

ความหมายในภาษาทั่วไป หมายถึงอุปกรณ์ที่ได้มีการพัฒนาให้มีการทํางาน ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติแล้ว

ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น โน้ตบุ้คที่ซื้อมา ยังไม่ถือว่าเป็น “ระบบคอมพิวเตอร์” จนกว่าจะได้มีการทํางานผ่านระบบเครือข่ายหรือ โดยซอฟต์แวร์

ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง  ชุดคําสั่ง  หรือสิ่งอื่นใด  บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์

ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

คําว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” มีใช้อยู่ในมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗

มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา๒๔ และมาตรา ๒๕

ความหมาย “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์  รวมทั้งชุดคําสั่งด้วยหากอยู่ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้

นอกจากนั้นยังให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

ความจริง แล้ว “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ย่อมอยู่ในความหมายของข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว แต่เพื่อให้ครอบคลุมถึงข้อมูลประเภทอื่นๆ

ที่อาจสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในอนาคตที่ไม่ใช่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็ได

อย่างไรก็ตาม “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔

ได้ให้ความหมายคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ไว้ว่า “ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือ

 

 

โทรสาร” ดังนั้น ความหมายจึงกว้างรวมออกไปถึงโทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร อย่างไรก็ตาม

องค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงองค์ประกอบความผิด “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” กับ “ระบบคอมพิวเตอร์” เข้าด้วยกัน

ดังนั้นกรณีของโทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสารหากเป็นความผิดที่ต้องเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์

เช่น การดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ตามมาตรา ๘ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ดังนั้นการดักรับโทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสารที่ไม่ได้ส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นต้น

“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์”  หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิดต้นทาง 

ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ นั้น

คําว่า “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” มีใช้อยู่ในมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖

ความหมาย “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายถึงข้อมูลที่แสดงรายการให้เห็นถึงการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์

ซึ่งจะแสดงถึงแหล่งกําเนิด เช่น IPaddress  ของเครื่อง ชื่อที่อยูของผู้ใช บริการที่มีการลงทะเบียน ข้อมูลของผู้ให้บริการ (service provider)

ลักษณะของการให้บริการว่าผ่านระบบใดหรือเครือข่ายใด วันเวลา ของการส่งข้อมูล และข้อมูลทุกประเภทที่เกิดจากการสื่อสาร (communication) 

ผ่าน “ระบบคอมพิวเตอร์”

การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และมีผู้ให้บริการ

ซึ่งผู้ให้บริการจะมีข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของตน

และตามพระราชบัญญัตินี้กําหนดว่า ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

ที่ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการในระบบคอมพิวเตอร์ของตนดังกล่าว (มาตรา ๒๕)

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทาง

 

 

      ระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนาม ของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลตามอื่น

      คําว่า “ผู้ให้บริการ” มีใช้อยูในมาตรา๑๕ มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๖ 

      ความหมาย “ผู้ให้บริการ” ตามความหมายทั่วไปเข้าใจกันว่าหมายถึง  service providerแต

      ตามคํานิยามศัพท์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ย่อมหมายถึงบุคคลประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้  คือ

(๑) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่า หรือบริการสื่อสารไร้สาย

(๒) ผู้ให้บริการการเจ้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดย internet   ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

      ภายในที่เรียกว่า internet ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน

(๓) ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (host service provider)

      ส่วนผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นตาม (๒) นั้น

      ย่อมหมายถึงผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider

      เช่น ผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

      “ผู้ใช้บริการ”   หมายความว่า   ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

      คําว่า “ผู้ใช้บริการ”  มีใช้อยู่ในมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๖

      ความหมาย “ผู้ใช้บริการ” หมายถึงผู้ใช้บริการทุกประเภทของผู้ให้บริการไม่ว่า จะต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่

      เช่นผู้ใช้บริการ internet  ของ hotmail  หรือ yahoo  มีทั้ง เสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น

      ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๒๖

      “พนักงานเจ้าหน้าที่”  หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

      คําว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” มีใช้อยู่ในมาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๓๐

 

 

ความหมาย “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึงผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์

และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้ง (มาตรา ๒๘)

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๑๘)

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (มาตรา ๔)

 

การรักษาการและการออกกฎกระทรวง

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้

นอกจากการออกกฎกระทรวงแล้วรัฐมนตรียังมีอํานาจหน้าที่ในการ

(๑) ให้ความเห็นชอบในการยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทํา ให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา ๒๐)

(๒) กําหนดเรื่องชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ (มาตรา ๒๑)

(๓) ประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ให้บริการที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (มาตรา ๒๖)

(๔) กําหนดคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๘)

(๕) กําหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดําเนินคดีผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

      โดยร่วมกับนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กํากับดูแล สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (มาตรา ๒๙)

(๖) กําหนดแบบบัตรประจําตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๓๐)

 

Last Updated ( Wednesday, 23 July 2008 14:08 )